สวัสดีค่ะ หากคุณต้องการติดต่อเรา สามารถเลือกช่องทางการติดต่อด้านล่างได้เลยค่ะ
logoบทความ/ข่าวสาร

เรื่องต้องรู้ของนิติบุคคลก่อน ยื่น ภ.ง.ด. 51



หน้าแรก

>

บทความ

>

เรื่องต้องรู้ของนิติบุคคลก่อน ยื่น ภ.ง.ด. 51

131 views

เรื่องต้องรู้ของนิติบุคคลก่อน ยื่น ภ.ง.ด. 51

     เมื่อกล่าวถึงการ ยื่น ภ.ง.ด. 51 จะต้องรู้ก่อนว่า ภ.ง.ด. 51 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (6 เดือน) หรือ สามารถอธิบายได้ว่าเป็นการจ่ายภาษีนิติบุคคลให้กับทางกรมสรรพากรไว้ก่อน สำหรับกำไรในรอบระยะเวลา 6 เดือนแรกของรอบบัญชีเพื่อดำเนินการ ยื่น ภ.ง.ด. 51 หลังจากนั้นจึงจะนำมาคิดคำนวณการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) อีกครั้ง ณ สิ้นรอบบัญชี กำหนดระยะเวลาในการ ยื่น ภ.ง.ด. 51 จะต้องยื่นภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคล หากไม่ดำเนินการยื่นตามกำหนดระยะเวลาจะมีค่าเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมา จากการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนิติบุคคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่น ภ.ง.ด. 51 ล่าช้า

ผู้มีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 51 คือใคร

     สำหรับการ ยื่น ภ.ง.ด. 51 ผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี คือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องจัดประมาณการกำไรขาดทุนสุทธิ และ บริษัทจดทะเบียนธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายกล่าวถึงการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ มีหน้าที่ ยื่น ภ.ง.ด. 51 ทั้งนี้จะรวมถึงบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเสียภาษีจากกำไรสุทธิ (ขาดทุนสุทธิ) จริงในครึ่งปีแรกจะต้องแสดงรายการ ยื่น ภ.ง.ด. 51 ให้กับทางกรมสรรพากร จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของนิติบุคคลที่มีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้การ ยื่น ภ.ง.ด. 51 นั้นจะถูกยกเว้นสำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนในปีแรกของการจดจัดตั้งนิติบุคคล

วิธีการคำนวณแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (6 เดือน) เพื่อ ยื่น ภ.ง.ด. 51

     ในการคิดคำนวณภาษีในการ ยื่น ภ.ง.ด. 51 มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ

- วิธีกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี กรณีนี้จะใช้กับบริษัทฯ ทั่วไป กิจการที่ทำธุรกิจซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการบริการ SME Start Up ส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้ในการคิดคำนวณการ ยื่น ภ.ง.ด. 51

- วิธีกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนแรกใช้กับบริษัทดังต่อไปนี้

     บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ไม่ต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงิน และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่จะต้อง ยื่น ภ.ง.ด. 51 ให้กับทางกรมสรรพากร

     บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฯ ตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ว่าด้วยมีหน้าที่ในการ ยื่น ภ.ง.ด. 51 และต้องมีการแนบงบแสดงสถานะทางการเงินและหนังสือของผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินด้วย

     ผู้มีหน้าที่ในการ ยื่น ภ.ง.ด. 51 จำเป็นต้องยื่นตามกำหนดและถูกต้อง เพราะมีข้อควรระวังสำหรับการยื่นแบบและชำระภาษีจากการประมาณกำไรสุทธิ ซึ่งการประมาณกำไรสุทธิขาดเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันควร ในส่วนนี้สามารถดำเนินการ ยื่น ภ.ง.ด. 51 แบบเพิ่มเติมส่วนที่ขาดเกินกว่า 25% ให้เรียบร้อยก่อนการนำส่งแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด. 50 โดยใช้อัตราเงินเพิ่มตามกรมสรรพากรกำหนด ทั้งนี้การ ยื่น ภ.ง.ด. 51 เป็นการแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลแบบครึ่งปี  โดยมีกำหนดระยะเวลาในการยื่นทั้งแบบปกติ ยื่นแบบด้วยตนเองที่กรมสรรพากรเขตพื้นที่ และแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร โดยมีฐานอัตราการคำนวณอัตโนมัติ การยื่น ภ.ง.ด. 51 เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก การดำเนินการควรทำด้วยความระมัดระวัง ตรวจสอบความถูกต้องก่อนการยื่นภาษีเสมอ



ข่าวสารล่าสุด

บริษัท Techvision Accounting ปิดงบ 66
บริษัท Techvision Accounting ปิดงบ 66

ปิดงบ 66 จะประกอบด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น หมายเหตุประกอบงบการเงิน และงบกระแสเงินสด ซึ่งเจ้าของกิจการต้องทำการ ปิดงบ 66 และนำส่งอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากสนใจบริการดังกล่าวติดต่อทางเราได้เลย

17/04/2024 17:00
ปิดงบ หจก กับ บริษัท Techvision Accounting
ปิดงบ หจก กับ บริษัท Techvision Accounting

ปิดงบ หจก คือการตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยทีมงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้สอบบัญชีภาษีอากรเสนอรายงานของผู้สอบบัญชี และการ ปิดงบ หจก ยังมีประโยชน์กับกิจการมาก เพราะเป็นภาพสะท้อนให้เห็นผลกำไร – ขาดทุนของกิจการได้อย่างชัดเจน

15/04/2024 17:00
บริษัท Techvision Accounting ปิดงบ คืออะไร
บริษัท Techvision Accounting ปิดงบ คืออะไร

ปิดงบ คืออะไร มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เพราะต้องมีการปิดงบการเงินเมื่อถึงกำหนดสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี หากมีการส่งล่าช้าหรือตั้งใจที่จะหลีกเลี่ยงไม่ ปิดงบ คืออะไร จะมีโทษตามกฎหมาย โดยจะต้องจัดทำและส่งงบการเงินให้แก่ 2 กรม ได้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

10/04/2024 17:00